วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

The Increasing Business Value with Networking Computer

การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(The Increasing Business Value with Networking Computer)
โดย
ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์
tsupon@spu.ac.th
ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย (BusinessTHAI) ฉบับที่214
วันที่17-23 ตุลาคม พ..2548 หน้า 21
การทำธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จ หรือได้เปรียบคู่แข่งขันนั้น ผู้บริหารต้องกล้าลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Networking Computer) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ให้ทำงานร่วมกัน โดยผ่านสื่อสำหรับการส่งข้อมูล และอุปกรณ์การสื่อสารประเภทต่างๆ เข้าด้วยกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร เหตุผลที่ธุรกิจใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มาอำนวยความสะดวกในการดต่อสื่อสารนั้น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร โดยนำมาสนับสนุนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในเรื่องต่อไปนี้ คือ

- เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร (Facilitating Communications) ได้แก่ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การส่งข้อความเร่งด่วน การสนทนา การประชุมทางไกลผ่านจอภาพวิดีโอ การใช้โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และการบริการส่งข้อความแบบไร้สาย

- เพื่อใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน (Sharing Hardware) ได้แก่ การใช้เครื่องพิมพ์ (Printer) ร่วมกัน
คือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่มีการเชื่อมโยงกันด้วยระบบเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถส่งงานพิมพ์มาออกที่เครื่องพิมพ์เดียวกันได้ เพื่อประหยัดงบประมาณ

- เพื่อใช้ข้อมูลและสารสนเทศร่วมกัน (Sharing Data and Information) ในองค์กร หรือบริษัทจะมี
ข้อมูลสารสนเทศแตกต่างกันออกไป เช่น สารสนเทศฐานข้อมูลของลูกค้า ผู้ใช้ที่มีอภิสิทธิ์ สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) หรือสมาร์ทโฟน (Smart Phone) บางบริษัทอาจจะใช้ระบบการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI) เช่น ใบกำกับสินค้า ใบแจ้งการส่งสินค้า ใบสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น

- เพื่อใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกัน (Sharing Software) หมายถึง ผู้ใช้งานที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบเครือข่าย
สามารถจะเข้าถึงซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งในซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่นั้นจะทำหน้าที่สนับสนุนให้ผู้ใช้หลายคนสามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้ และพ่อค้าส่วนใหญ่จะขายซอฟต์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือมีซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ใช้โปรแกรมเดียวกันได้หลายชุดบนคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องในเวลาเดียวกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย (Site License) หากผู้ใช้ต้องการซื้อซอฟต์แวร์ก็สามารถซื้อได้ราคาถูกกว่าการจัดซื้อเอง

- เพื่อใช้โอนเงิน (Transferring Funds) หรือ อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Funds Transfer : EFT) ระบบนี้จะอนุญาตให้ผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่าย สามารถโอนเงินจาก
บัญชีธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่งได้ โดยผ่านสายโทรศัพท์หรือสื่อการส่งข้อมูลชนิดอื่นๆ ธุรกิจลักษณะนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นบริษัทสองบริษัทขึ้นไปทำธุรกรรมร่วมกัน เช่น ระบบ ATM ของธนาคารภาพแสดงเหตุผลสำคัญที่องค์กรธุรกิจเลือกใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์(Gary B. Shelly : 2005 : 469) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานกันอยู่ในภาคธุรกิจปัจจุบัน มีหลายประเภทด้วยกัน แต่ที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ

- เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้ทำงานร่วมกันใน
พื้นที่จำกัด หรือในระยะใกล้ เช่น ในบ้าน ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย
หรือในสำนักงาน ในแต่ละจุดคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายจะเรียกว่าโหนด (Node) มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และมีจุดศูนย์กลางให้บริการที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งจะมีฮาร์ดดิสก์ และโปรแกรมขนาดใหญ่รองรับการใช้งาน

- เครือข่ายเมืองใหญ่ หรือเมืองหลวง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ซึ่งก็คือการเชื่อมต่อระบบ LAN หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเครือข่ายเข้าด้วยกันในเฉพาะพื้นที่เมืองใหญ่หรือเมืองหลวงนั่นเอง การเชื่อมโยงในระบบนี้เน้นการติดต่อสื่อสารทำกิจกรรมร่วมกันในภูมิภาค แต่จะมีขนาดเล็กกว่าระบบ WAN

- เครือข่ายระยะกว้าง หรือไกล (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ขนาด
ใหญ่ เช่น เมือง ประเทศ หรือหลายประเทศทั่วโลก มีการใช้ช่องทางการสื่อสาร และสื่อหลายประเภท
ผสมผสานกัน เช่น สายโทรศัพท์ สายเคเบิ้ล และคลื่นวิทยุ ระบบ WAN นี้ จะเชื่อมโยงระบบ LAN
มากกว่าสองเครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกัน อินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกัน ก็คือ ระบบ WAN ที่ใหญ่ที่สุด ดังนั้น จะเห็นได้ว่า หากองค์กรธุรกิจ นำเอาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างแผนกหรือองค์กร สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรได้มาก คือ ช่วยประหยัดงบประมาณ บริการลูกค้า ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น มีความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น