วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

e - learning ในมหาวิทยาลัย

e-Learning ในมหาวิทยาลัย
โดย
ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์
tsupon@spu.ac.th
ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ 606
วันที่ 30 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.. 2548 หน้า 22
**********************************************
กระแสของการเรียนรู้ ในยุคของสารสนเทศ (Information Age) เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก แหล่งการเรียนรู้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่ และภูมิศาสตร์อีกต่อไป เนื่องจากมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย ทำให้การเรียนรู้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ที่เราเข้าใจกันในนาม การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Learning หรือ e-Learning สำหรับในมหาวิทยาลัย การเรียนในห้องเรียนเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งยวดส่วนหนึ่ง เพราะทำให้นักศึกษาได้สัมผัสสถานการณ์ชีวิตจริงกับอาจารย์ผู้สอนโดยตรง แต่ทุกมหาวิทยาลัยต่างก็สร้างระบบ e-Learning ขึ้นมา เพื่อช่วยและสนับสนุนนักศึกษาด้วยกันทั้งนั้น เช่น ในบางกรณีนักศึกษาบางคนไม่ได้เข้าเรียน หรือเรียนไม่ทัน ก็สามารถมาใช้ระบบ e-Learning นี้เรียนทบทวนบทเรียนต่างๆ ได้ ระบบ e-Learning มีองค์ประกอบมาตรฐานหลัก 3 ประการคือ
1. อภิข้อมูล (Metadata) คือเป็นส่วนของข้อมูลที่ใช้ควบคุมข้อมูล ที่มีลักษณะบ่งบอกให้รู้ว่า ข้อมูล
นี้เป็นประเภทอะไรบ้าง ใครเป็นผู้สร้าง หรือนำข้อมูลใช้เพื่ออะไร เมตะจึงเป็นส่วนที่ใช้อธิบายรายละเอียดของตัวข้อมูล (ยืน ภู่วรวรรณ : 2545 : 264) ผู้พัฒนาระบบส่วนใหญ่ลงความเห็นร่วมกันว่า Metadata เป็นหัวใจของระบบ e-Learning (Heart of e-Learning) ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนในด้านดรรชนี , การจัดเก็บ, การค้นหาข้อมูล และการเรียกข้อมูลออกมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
2. สวนประกอบของเนื้อหา (Content Packaging) คือ ส่วนที่ประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ของ
การเรียน และสารสนเทศ ที่จะบอกให้รู้ว่า จะเอาอะไรใส่เข้าไปในแต่ละบทเรียน ซึ่งก็จะมีกฏระเบียบตามแต่ชนิดสำหรับถ่ายโอนส่วนประกอบของเนื้อหาในบทเรียนไปยังผู้เรียน
3. ชีวประวัติสั้นๆ ของผู้เรียน (Learner Profiles) คือ ประวัติย่อของผู้เรียน ซึ่งจะประกอบได้วย
ข้อมูลส่วนบุคคล, แผนการเรียนรู้, ประวัติการเรียนรู้, ความต้องการในการเข้าถึงการเรียนรู้, ใบประกาศนียบัตร และคุณวุฒิ, ความเชี่ยวชาญ/สมรรถนะ (Skills/Competencies) นอกจากนั้น ระบบนี้ยังต้องการส่วนประกอบของข้อมูลสำหรับการสื่อสารของผู้เรียน เช่น แต้ม หรือสถานะการแข่งขัน (Ryann K. Ellis : 2005 :1) ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม www.spu.ac.th ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุมจะใช้คำว่า SPU-LMS (Sripatum University-Learning Management System) หรือ SPU e-Learning ซึ่งในหน้าหลักนี้จะประกอบไปด้วยเมนูต่างๆ คือ
􀂃 การสร้างรายวิชาใหม่ (Create a New Course) หมายถึง รายวิชาใดที่ยังไม่มีในระบบ
           อาจารย์สามารถเข้าไปสร้างขึ้นใหม่ได้ด้วยตัวเอง
􀂃 ระบบจัดการรายวิชา (Course Management) อาจารย์สามารถเข้าไปทำการจัดการราย
           วิชาที่ตัวเองสอน เช่น การเข้าไปเพิ่มเนื้อหาของบทเรียน
􀂃 ระบบจัดการโครงการสอน (Course Outline Management) อาจารย์ผู้สอนสามารถเข้าไป
           จัดการเกี่ยวกับโครงการได้ เช่น ปรับเปลี่ยนโครงการสอน ให้ตรงตามฝ่ายวิชาการเสนอแบบฟอร์ม
           มาให้
􀂃 ระบบการจัดการแผนการสอน (Lesson Plan Management) ผู้สอนสามารถเข้าไปเพิ่มหรือแก้ไขเกี่ยวกับแผนการสอนได้เอง
􀂃 ระบบการทดสอบ (Testing Systems) ผู้สอนสามารถเข้าไป สร้างแบบทดสอบ หรือแบบฝึกหัดเองได้ โดยให้ตรงตามเนื้อหาในแต่ละบทเรียน
􀂃 ระบบการตรวจสอบสถิติ (Tracking) ผู้สอนสามารถเข้าไปตรวจสอบสถิติของจำนวนนัก
            ศึกษาที่เข้ามาใช้บริการของเว็บไซต์รายวิชาได้
􀂃 ระบบการสื่อสาร (Communication) มีระบบการสนทนาอำนวยความสะดวกให้ เช่น การับ
           ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) หรือในกรณีมีปัญหา ผู้ใช้สามารถส่ง
           อีเมล์ติดต่อกับผู้ดูแลระบบได้โดยตรง
􀂃 ค้นหาผู้สอน (Search Instructor) นักศึกษาสามารถเข้าไปค้นหาอาจารย์ผู้สอนว่า ชื่ออะไร ประจำอยู่คณะไหน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อเบอร์อะไร เป็นต้น 3
􀂃 ห้องสนทนา (Chat Room) เป็นห้องสนทนาระหว่างผู้เข้ามาใช้บริการ อาจแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนร่วมกันได้นับได้ว่า ระบบ e-Learning ได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้สอน และผู้เรียนเป็นอย่างมาก จากตัวอย่างของ e-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุมนี้ มีบางวิชาที่ทางมหาวิทยาลัย ได้ให้ศูนย์มีเดีย และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา เข้าไปถ่ายทำเป็นวิดีโอ ในขณะที่อาจารย์กำลังดำเนินการสอน และนำมาใส่ไว้ในระบบ e-Learning นี้ด้วย นักศึกษาผู้ที่ไม่ได้เข้าเรียน หรือเรียนไม่ทัน สามารถเข้ามาเปิดวิดีโอผ่านเว็บไซต์ e-Learning ของมหาวิทยาลัยได้ เพื่อทำการทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา ซึ่งสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ โดยไม่จำกัดสถานที่และวันเวลา ซึ่งถือได้ว่า เป็นการให้บริการที่ทันสมัย และทันสถานการณ์.
􀂛􀂛􀂛􀂛􀂛􀂛􀂛􀂛􀂛􀂛

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น